ภาพแปะฟ้าเมืองคอน-อดีตเกาะPolo tantalem เกาะเมืองพนัง เมืองเบี้ยซัด ปากพนัง ตอน 1

ก.ย. 11

ภาพแปะฟ้าเมืองคอน-อดีตเกาะPolo tantalem เกาะเมืองพนัง  เมืองเบี้ยซัด ปากพนัง ตอน 1

received_1064034590379486-horz-vert copyreceived_1064034593712819-vert copyreceived_1064034590379486-horz copy-vert

ภาพแผนที่ อดีตเกาะอำเภอเบี้ยซัดหัวเมืองพนัง อำเภอปากพนัง ชื่อเกาะPolo tantalem ในทะเลจีนใต้   พื้นที่จะทอดตัวยาวไปยังแหลมสนจังหวัดสงขลา ภาพ/ข้อมูลจาก ท่านพระครูเหมเจติยาภิบาล(โสพิทร์) วัดพระนคร  แผนที่ในราชสำนักสยาม(แสดงให้เห็นความเป็นท่าเรือ ของอ่าวปากพนัง ที่สำคัญทางการติดต่อทางทะเล)แผนที่สยามและประเทศราช ฉบับเซอร์จอห์น เบาริ่ง/F.A. Neale/ภาพคุณสารัท(นิก)ชลอ สันติสกุล ศิลปากรที่ 14 เมืองคอน/แผนที่กัลปณาจากคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล สมัยพระเจ้าทรงธรรม ประมาณ พ.ศ.2160/คุณวันพระ สืบสกุลจินดา และเมือปากพนังเป็นเกาะชื่อเกาะPolo Tantalem น่าจะเป็นสภาพพื้นที่เมืองนครศรีธรรมราช ครั้งสมัยพระนางเหมชาลาและเจ้าชายทนธกุมารนำพระบรมธาตุมาฝังไว้ ณ หาดทรายแก้ว เมื่อ พ.ศ.๘๕๔ โดยอิงจากข้อความในพงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช เเลขที่ ๑ ฉบับหอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี ที่ได้กล่าวว่าเป็นพื้นที่หาดทรายแก้วทะเลรอบ CR : โปรแกรมจำลองสภาพน้ำท่วมของนาซ่าที่ระดับ ๔ เมตรจากระดับน้ำทะเล 

               อำเภอเบี้่ยซัด หัวเมืองนัง คือเมืองท่าเก่าที่สำคัญในยุคโบราณ เป็นบ้านเกิดของผู้เขียนแม้จะอยู่ห่างไกลจากหัวเมืองนังจะเรียกว่า”ชนบท”ก็คงไม่ผิด แต่ก็มีสายเลือดแห่งลุ่มน้ำปากพนัง ลุ่มน้ำเค็มปากพนัง ญาติของผู้เขียนฝ่ายย่าแดง พันธรังษี เป็นคนบ้านพรุรวม ตำบล    อำเภอปากพนัง เป็นลูกชาวจีนโพ้นทะเล และมีเครือญาติอาศัยอยู่ในย่านตลาดปากพนัง”ร้านทองล่วนเอก” และได้อยู่กินกับปู่มด พันธรังษี เป็นชาวเหมก ตำบลป่าระกำ อำเภอปากพนัง โดยอาศัยสายน้ำปากพนังเป็นสื่อกลางและย้ายมาอยู่ชนบทบ้านหัวสวน หมู่ 7 ตำบลเกาะทวด เมื่อร้อยปีที่แล้ว

ฉนั้นข้าพเจ้าผู้เขียนจึงมีสายเลือดของชาว”ลุ่มน้ำปากพนัง”อย่างเต็มตัวที่จะเขียนอย่างภาคภูมิใจความเป็นอดีตอย่างชาว”ปากพนัง”

ในฐานะเป็นชาวลุ่มน้ำปากพนังและชาวปากพนังที่ได้ย้ายถิ่นฐานและยังคงอยู่ควรภาคภูมิ ภูมิใจในถิ่นกำเหนิดแห่งความเป็น”ลุ่มน้ำปากพนัง”

ผู้เขียนจึงขอนำภาพผืนดินที่เคยรุ่งเรือง มั่งคั่ง ภาพแห่งความสุขที่อยู่ในความทรงจำ ความเป็นเมืองท่า ดินแดนแห่งอู่ข้าว อู่น้ำ เป็นท่าเรือที่มีความยิ่งใหญ่ ที่ทำการค้า-การขายกับชาวต่างชาติทั้งประเทศสิงค์โปร์ จีน มาลายู อินเดีย ลังกา ชาติตะวันตกและนานาชาติ สินค้ามีทั้งข้าวสาร ของป่า อาหารทะเล และของกินของใช้นานาชนิด ซึ่งบรรพบุรุษแห่ง”ลุ่มน้ำเค็มแห่งปากพนัง”ได้เคยสร้างไว้ และเก็บภาพไว้เพื่อเตือนใจ จากรุ่นสู่รุ่น ในความเป็น”ชาวลุ่มน้ำปากพนัง”

อ่าวปากพนัง แม่น้ำปากพนัง

ลำน้ำปากพนัง2-horz copy

ลำน้ำปากอ่าวปากพนัง ในคราวรัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองปากพนัง ภาพ/ข้อมูลภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล ศิลปากรที่ 14  เมืองคอน 

ลำน้ำปากพนัง-horz copy

ลำน้ำปากพนัง-บ้านปากแพรก ในคราวรัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองปากพนัง ภาพ/ข้อมูลภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล ศิลปากรที่ 14  เมืองคอน 

Picture 2544383-horz copy

ภาพอดีตลำน้ำปากพนัง   จากหนังสือนิราสปากพนัง โดยหลวงประคองคดี ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ. 2482

P1050314

ภาพเรือพระที่นั้งมหาจักรี ในคราวที่รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองปากพนัง ร.ศ.108 ภาพจากโศกนาฏกรรม พายุโซนร้อนที่ปากพนังและแหลมตะลุมพุก 2505

Picture 266 copy

ภาพเรือพระที่นั้งของสมเด็จย่า ที่เสด็จเมืองปากพนัง ถ่ายภาพโดยคุณครูตรึก พฤกษศรี เจ้าของภาพคุณสถาพร พฤกษศรี

Picture 2544384-horz copy

ภาพอดีต ภาพปากพนังฝั่งตะวันออก และปากพนังฝั่งตะวันตกของลำน้ำปกาพนัง จากหนังสือนิราสปากพนัง โดยหลวงประคองคดี ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ. 2482

136-tile copy

ภาพอดีตหมู่บ้านริมน้ำและห้างอีสอาเซียติ๊ก ที่ลำน้ำปากพนัง ภาพจากอาจารย์พวงผกา ตลึลงจิตต์ โรงเรียนเบญจมราชูทิศและคุณจรัส ยกถาวร ภาพอดีต ถ่ายเมือ พ.ศ.2448

Picture 2544386-horz copy

ภาพอดีต ภาพวิถีชีวิตของชาวปากพนังอีกวิถีหนึ่ง ภาพจากนิราสปากพนัง โดยหลวงประคองคดี และภาพโดยคุณครูตรึก พฤกษะศรี กรรมสิทธิ์ภาพของคุณสถาพร พฤกษะศรี ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2482 และ พ.ศ.2500

1.เรือแบบและขนาดต่างๆที่เข้ามาทำการค้า ทอดสมอในอ่าวปากพนัง เพื่อรอขนถ่าย-บรรทุกสินค้า เต็มไปหมดในลำน้ำปากพนัง

26-horz copyภาพเรือสำเภาสองหลัก เรือที่ชาวจีนไหหลำเป็นผู้ริเริ่มนำมาใช้ในลุ่มน้ำปากพนัง ภาพ/ข้อมูลภาพจากคุณสารัท(นิก) ชลอสันติสกุล ศิลปากรที่ 14  เมืองคอน  คุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา

IMG_0021-horz copy

ภาพเรือยนต์ตัวเรือเป็นเหล็กเป็นเรือดัดแปลงเพื่อใช้บรรทุกข้าวสาร-สินค้าอื่นๆ  ภาพจากคุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรีและเพจออนไลน์ ดร.โรเบิร?ต เพนเดิลตัน 

P1050229-horz copy

ภาพเรือแขก เป็นเรือสองหลักที่ใช้ในการบรรทุกข้าวสารและอื่นๆในแม่น้ำปากพนัง ภาพ/ข้อมูลภาพจาก หนังสืองานเดือนสิบ ปี 2477  และคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา

68767928_370884700261666_6086423023022243840_n-horz copy

ภาพเรือกลไฟ เรือโดยสารที่วิ่งในแม่น้ำปากพนัง  ภาพและข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา

P1050254-horz copy

ภาพอดีตเรือเดินทะเล ของมาลายูที่เข้ามาในอ่าวปากพนังเพื่อขนส่งข้าวสารไปยังภาคส่วนต่างๆ ภาพจากหนังสือรัตนานุสรณ์ เรืองเล่าของแม่ ลูกสาวขุนบวร ที่เมืองนคร/คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช  หนังสือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้ ภาพอดีตถ่ายเมือ พ.ศ.2448

P1050261-horz copy

ภาพอดีตเรือขนส่งสินค้าที่เข้ามายังแม่น้ำปากพนังเพื่อขนส่งสินค้า ภาพจากหนังสือบ้านพ่อที่ลุ่มปากพนัง

P1050287-tile copy

ภาพอดีตเรือใบบรรทุกข้าวสารไปขายที่ประเทศมาเลเซีย สิงค์โปร์และเรือบรรทุกสองหลัก เพื่อบรรทุกสินค้าข้าวสารไปขาย ณ จุดต่างๆ เมือ พ.ศ.2475 ภาพจากหนังสือบ้านพ่อที่ลุ่มปากพนังและเสน่ห์..เมืองพนัง

P1050250 copy

ภาพอดีตเรือยนต์ ที่ล่องขนส่งสินค้าและผู้คนตามลำน้ำแม่น้ำปากพนัง-จังหวัดต่างๆในอ่าวไทย ภาพจากหนังสือรัตนานุสรณ์ เรืองเล่าของแม่ ลูกสาวขุนบวร ที่เมืองนคร/คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช 

2.ซากร่องรอยแห่งความรุ่งเรือง เป็นซากปรักหักพังของโรงสีไฟริมแม่น้ำปากพนังที่ถูกทิ้งร้าง

ภาพโรงสีไฟขนาดใหญ่ริมลำน้ำแม่น้ำปากพนัง และมีการบันทึกไว้หน้าหนึ่งของประวัติศาสตรื ในคราวที่ รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นหัวเมืองปักษ์ใต้ เมือ ร.ศ.124 ว่า””อำเภอปากพนังนี้ ได้ทราบอยู่แล้วว่าเปนที่สำคัญอย่างไร แต่เมือไปถึง ยังรู้สึกว่าตามที่คาดคะเนนั้นผิดไปเป็นอันมาก ไม่นึกว่าจะใหญ่โตมั่งคั่งถึงขนาดนี้“”และยังมีบันทึกของชาวต่างชาติอีกหลายชาติที่กล่าวถึงความรุ่งเรืองของชาว”ปากพนัง”ในอดีต 

โรงสีข้าวในสายน้ำปากพนังเริ่มรุ่งเรืองมาตั้งแต่ปลายรัชกาบที่ 4 ประมาณ พ.ศ.2447 จนมาถึงยุคโรยราประมาณ พ.ศ.2510  ซึ่งพอประมวลโดยสังเขป.

1.โรงสีไฟเอี่ยมเส็ง  ดำเนินการต่อโดยสกุล” สุชาโต”  โรงสี 1   ตั้งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำปากพนัง

IMG_0012-horz copy

ภาพอดีตจากคุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี ภาพและข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา หนังสือบ้านพ่อที่ลุ่มน้ำปากพนัง

โรงสีไฟฮักหงี-horz

ภาพอดีตภาพโรงสีไฟฮักหงี(เอี่ยมเส็ง)ยุคแรกและหลังเกิดเหตุวาตะภัย 25 ตุลาคม 2505 ภาพจากหนังสือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้ ภาพและข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา

39-horz-vert copy

ภาพอดีตการรับเสด็จในคราวรัชกาลที่ 5 เสด็จทรงเปิดโรงสีไฟแห่งแรกของอำเภอปากพนัง เมือวันที 8 กรกฏาคม 2448 ภาพจากภาพ/ข้อมูลภาพจากคุณสารัท ชลอสันติสกุล ศิลปากรที่ 14  เมืองคอน อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์ หนังสือลุ่มน้ำปากพนัง หนังสืออุทกวิภาชประสิทธิ คืนความสมบูรณ์สู่..ปากพนัง

2.โรงสีไฟเอี๊ยะหลี  โรงสี 2 ตั้งอยู่บ้านใหม่ เขตเทศบาลอำเภอปากพนังภาพและข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลาIMG_0002 copyภาพอดีตจากคุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี หนังสือลุ่มน้ำปากพนัง ภาพและข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา

3.โรงสีไฟเอี๊ยะเชียง  โรงสี 3 ตั้งติดกับโรงสี 2 เขตเทศบาลอำเภอปากพนัง

2 copy

ภาพ/ข้อมูลภาพจากคุณสารัท ชลอสันติสกุล ศิลปากรที่ 14  เมืองคอน ข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา

4.โรงสีไฟหมงฮวด ยุคแรก โรงสีไฟกิมโจนเส็ง ยุค 2  โรงสี 4  ตั่งตรงข้ามกับโรงสี 2 เขตเทศบาลอำเภอปากพนัง

IMG_0004 copy

ภาพอดีตจากคุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี หนังสือลุ่มน้ำปากพนัง ภาพและข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา

5.โรงสีกวงฮั่ว  โรงสี 5 ตั้งอยู่ฝั่งฟ้าแม่น้ำปากพนัง เขตเทศบาลอำเภอปากพนัง

IMG_0005-horz copy

ภาพอดีตจากคุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี หนังสือลุ่มน้ำปากพนัง ภาพและข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา โรงสี 5 ขณะรื้อถอนในเดือน กรกฎาคม 2540

6.โรงสีฮงเซียงเฮง  โรงสี 6 ตั้งฝั่งขวาแม่น้ำปากพนัง เขตเทศบาลอำเภอปากพนัง

IMG_0007 copy

ภาพอดีตจากคุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี หนังสือลุ่มน้ำปากพนัง ภาพและข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา

7.โรงสีไทน่ำฟง ยุค 1 โรงสีฮะเซ่งพ้ง ยุค 2 โรงสียึดเส็งจั่น ยุค 3  โรงสี 7 ของบริษัทบวรพาณิชย์ ตั้งที่บ้านบางกรูด เขตอำเภอปากพนัง

P1050259 copy

ภาพอดีตจากหนังสือรัตนานุสรณ์ เรืองเล่าของแม่ ลูกสาวขุนบวร ที่เมืองนคร  คุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี หนังสือลุ่มน้ำปากพนัง ภาพและข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา

8.โรงสีเตาเส็ง ยุคแรก โรงสีโฮฮอง ยุค 2 โรงสีบริษัทกอบกาญจน์ ยุค 3 ตั้งที่บางนาว เขตอำเภอปากพนัง

IMG_0009 copy

ซากโรงสี8ด้านข้าง-tile - Copy copy

ภาพอดีตจากคุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี หนังสือลุ่มน้ำปากพนัง/และภาพทิ้งร้างหลังจากเลิกกิจการภาพจากสารนครศรีธรรมราช ภาพและข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา

9.โรงสีง่วนไถ่  โรงสี 9 โรงสีแม่ครู ตั้งฝั่งซ้ายแม่น้ำปากพนัง เขตอเภอปากพนัง

IMG_0001 copy

ภาพอดีตจากคุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี หนังสือลุ่มน้ำปากพนัง ภาพและข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา

10.โรงสีไทยวพงษ์  โรงสี 10 ตั้งฝั่งขวาของแม้น้ำปากพนัง บ้านเนิน ใกล้สามสามแพรกเขตอเภอเชียรใหญ่่

IMG_0013 copy

ภาพอดีตจากคุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี หนังสือลุ่มน้ำปากพนัง ภาพและข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา

11.โรงสีลื่มเล่งหัง ยุค 1 โรงสีเลี่ยงฮะกงสี ยุค 2 โรงสีสระเกษ ยุค 3 โรงสีง่วนหลี ยุค 4 โรงสีไฟวลีย์  โรงสี 11 ตั้งที่ บ้านปากแพรก แม่น้ำปากพนัง เขตอำเภอเชียรใหญ่

IMG_0014 copy

ภาพอดีตจากคุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี หนังสือลุ่มน้ำปากพนัง ภาพและข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา

12.โรงสีไฟเฮียบเส็งฮง ยุค 2 โรงสีไฟแสงไทย ยุค 3  โรงสี 12 ตั้งริมแม่น้ำปากพนังช่วงตลาดเชียรใหญ่ อำเภอเชียรใหญ่

IMG_0015 copy

ภาพอดีตจากคุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี หนังสือลุ่มน้ำปากพนัง ภาพและข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา

13.โรงสีล่วนเอ็กเชียง  โรงสี 13 ตั้งอยู่ลำนำ้ปากพนังช่วงบ้านปากบาง เขตอำเภอหัวไทร

IMG_0016 copy

ภาพอดีตจากคุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี หนังสือลุ่มน้ำปากพนัง ภาพและข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา

14.โรงสีบริษัทข้าวไทยปักษ์ใต้ โรงสีเก้าห้อง  ตั้งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำปากพนัง ปัจจุบันเหลือแต่ปล้องตั้งใกล้หัวงานโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง เป็นโรงสีที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ถ่ายเมือ ประมาณ พ.ศ.2491

IMG_0018 copy-horz copy

 ภาพอดีตจากคุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี หนังสือลุ่มน้ำปากพนัง ภาพและข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา

IMG_0010 copy

 ภาพอดีตความหนาแน่นของโรงสีไฟริมแม่น้ำปากพนัง ภาพอดีตจากคุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี หนังสือลุ่มน้ำปากพนัง ภาพและข้อมูลภาพจากคุณชวลิต อังวิทยาธร การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา

3.ประเพณีออกพรรษา มีประเพณีชักพระทางน้ำ/ทางบก

ประเพณีชักพระทางน้ำเป็นประเพณีที่สีบทอดมาเป็นเวลาเริ่มตันของประเพณีด้วยการทำบุญตักบาตรในวันแรม 1 ค่ำ และมีการแห่นมพระซึ่งมีการแข่งขันกันว่าของวัดไหนมีความสวยงามมากกว่ากันและมีการชักพระทางน้ำ มีการแข่งเรือยาว

ขอขอบคุณ

ท่านพระครูเหมเจติยาภิบาล(โสพิทร์) วัดพระนคร

นายมิตร พันธรังษี/นางสาวปุณิกา พันธรังษี

คุณสารัท(นิก)ชลอ สันติสกุล ศิลปากรที่ 14 เมืองคอน/คุณบัณฑิต พูลสุข หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี/คุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล /คุณสถาพร พฤกษะศรี/คุณพยอม ปิดชิด ร้านคนสร้างภาพ/คุณสายัณห์  ยรรยงนิเวศน์    คุณศุภชัย แซ่ปุง/คุณวีระศักดิ์  ศรีวัชรินทร์   /อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์ /คุณจรัส ยกถาวร/คุณยุรีย์ อังวิทยาธร

การแลกเปลี่ยนและการค้าข้าวบริเวณชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา โดยชวลิต อังวิทยาธร

100 ปีโรงเรียนปากพนัง/หลุ่มน้ำปากพนัง/ประวัติศาตร์ท้องถิ่นภาคใต้/อุทกวิภาชประสิทธิ คืนความสมบูรณ์สู่..ปากพนัง/บ้านพ่อที่ลุ่มปากพนัง/โศกนาฎกรรม พายุโซนร้อนที่ปากพนังและแหลมตะลุมพุก 2505/รัตนานุสรณ์ เรืองเล่าของแม่ ลูกสาวขุนบวร ที่เมืองนคร 

2 comments

  1. You made a number of fine points there. I did a search on the subject matter and found nearly all persons will consent with your blog. Tori Barris Salita

  2. Full HD film sitesi ile yerli ve yabancı en iyi filmleri izleyebileceğiniz, film izle platformumuzda en yeni filmleri en yüksek kalitede izleme imkanı sağlar.

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *