ภาพแปะฟ้าช่วง”ย้อนรอยวังเมืองคอน-คลองท้ายวัง-อดีตสถานที่โรงละครตำนานเมือง”ลิกอร์”

พ.ค. 17

ภาพแปะฟ้าช่วง”ย้อนรอยวังเมืองคอน-คลองท้ายวัง-อดีตสถานที่โรงละครตำนานเมือง”ลิกอร์”
pวังเดิม-467x700 copy
      ภาพอดีตบริเวณวังเก่า”ในสวน” ครูน้อม อุปรมัย ถ่ายไว้ให้เป็นรอยบาทสุดท้ายบริเวณหน้าอาคารหลังสุดท้่ายของเจ้าเมืองนครฯ ถ่ายเมือเดือน ตุลาคม 2521 จากบทความ”รอยบาทเหยียบแน่นไว้ โดยน้อม อุปรมัย หนังสืิิอพระกฐินพระราชทานวัดท่าโพธิ์ 21 ตค.2522 ภาพบัจจุบันถ่ายเมื่อ สิงหาคม 2555
                  เคยมีคำถามในใจมาตลอดว่า”โรงละครของเมืองคอน”ที่ทำให้เป็นที่กล่าวขานว่า”เมืองลิกอร์”ของขาวโปตุเกส อยู่บริเวณไหนของเมืองคอน
                  เป็นที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างมากอีกตอนหนึ่งที่ผมเขียน”ภาพแปะฟ้าเมืองคอน” ที่คำถามนั้นมีคำตอบในตอนนี้ ตอนที่ที่มีสถานที่ที่สำคัญหลายสถานที่ ที่สำคัญมาตั้งแต่อดีต ถึงแม้นสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ย้อยรอยจากปลายทางไปหาต้นทางของอดีตของเมืองคอน  เป็นการย้อนรอยสถานที่ตั้ง ที่ยังสืบทอดมาถึงของ “เมืองลิกอร์”ที่ยังคงเหลือพอให้สืบค้นได้จากหลายๆท่าน(มิได้เขียนแบบโมเมหรือเพื่อธุรกิจการค้า เพียงเพื่อความเป็นเมืองคอนของเรา เป็นข้อมูลท่านนักวิชาการ-นักประวัติศาสตร์ ที่นำเสนอเพื่อการวิเคราะห์ วิจารณ์ ) ดังนี้
  1. จากพยานบุคคลผู้ที่สัมผัสและรู้จักบุคคลที่สถานที่เหล่านั้น
      1.1  คุณวีระศักดิ์ ศรีวัชรินทร์ (เป็นที่เกิดมาดูโลกคือที่ตั้งโรงละครในตำนาน)
      1.2  คุณประวัติ ภิรมย์กาญจน์(เคยตั้งบ้านเรือนที่หมู่บ้านฉางขาม(ปัจจุบันคือด้านหลังโรงพิมพ์รัตนโสภณใกล้บริเวณโรงละคร)
  2. จากพยานทางเอกสารทางประวัติศาสตร์ของนักประวัติศาตร์
      2.1 ของคุณครูน้อม อุปรมัย
      2.2 ของคุณดิเรก พรตตะเสน 
      2.3 ของคุณธรรมทาส พานิช
      2.4 สารนครศรีธรรมราช ฉบับที่ 10 เดือน ตุลาคม 2539และฉบับที่ 1 เดือนมกราคม 2546
               ย้อนไป ประมาณ 100 ปีก่อน ก่อนที่จะมาถึงสมัยของ “มโนราห์,ละครชาตรี”อย่างปัจจุบัน สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งโรงละครมาหลายร้อยปี(จุดแรกเริ่มที่ตั้งของโรงละครต้นกำเนิด ผู้เขียนไม่สามารถสันนิษฐานได้ว่าในห้วงระยะพันปีก่อนอยู่ส่วนไหนของวังเมืองตามพรลิงค์ วังเมืองลิกอร์) จากหลักฐานต่างๆที่พบ ปัจจุบันสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นข้อมูลความจริง เป็นที่น่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับของชาวไทยและเทศคือ คือตำนานที่เรียกหาของชาวเมืองโปตุเกส(ต้นยุคกรุงศรีอยุธยา)ทึ่เข้ามาค้าขายเรียกเมืองคอนว่า”เมืองลิกอร์(LIGOR)” ผู้เขียนต้องขอขอบคุณ
                   บทความของคุณดิเรก พรตตะเสนจากหนังสือสารนครศรีธรรมราช เดือน กรกฎาคม 2515 เรือง แด่มาตุภูมิ “มรดกมีค่า..ของตายาย(หน้า 33)ท่านกล่าวไว้ว่า
                “ยังมีหลักฐานความเป็นกวีของเมืองคอนย้อนไปได้อีกถึง พ.ศ.1400 กล่าวคือมีจดหมายเหตุจีนฉบับหนึ่งบอกไว้ว่า เมืองนครศรีธรรมราชสมัยนั้นมี”การละครรุ่งเรืองไม่มีที่ไหนสู้ได้ “ที่จีนเขียนจดหมายเหตุไว้เช่นนี้่ เพราะอ๋องผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชได้ส่งละครสำรับหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยคนแสดง 9 คน  เครื่องแต่งตัว และเครืองประโคมพร้อมคนประจำครบครันไปเป็นราชบรรณาการแก่ฮ่องเต้กรุงจีน”ฯลฯ
                        และตามบันทึกประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับละคร(หญิงนักรำ-ละครรำ)เมืองนครศรีธรรมราช(โฮลิง)ได้จัดส่งเป็นเครื่องบรรณาการไปยังสำนักจีน เมื่อ พ.ศ.1356 ซึ่งเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในการละคร มาแต่ดึกดำบรรพ์(จากหนังสือ ไชยา-ที่ตั้งนครหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย ธรรมทาส พานิช หน้า 90)
                        และของคุณธรรมทาส  พาณิชในหนังสือประวัติศาสตร์และโบราณคดีนครศรีธรรมราช หน้า 70 71 กล่าวไว้ว่า ค.ศ.813 นคร-โฮลิง(นครศรีธรรมราช)ส่งทูต มีคณละคร 4 คนและของแปลกไปถวายพระเจ้ากรุงจีนและ ค.ศ.860 นคร-โฮลิงส่งทูต มีคณะดนตรีหญิง 1 คณะไปถวาย
                              และในพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ 4 ถึงพระองค์เ้จ้าปัทมาราชที่กล่าวถึงละครเมืิองนคร ด้งพระราชหัตถเลขาว่า”สิ่งที่กล่าวมาย่อมแสดงให้เห็นว่าเมืองนครฯเป็นเมืองที่มีการละครมาตั้งแต่สมัียโบราณแล้่วโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรำโนราหรือมโนราห์ ซึ่งเป็นการแสดงศิลปพื้นบ้านของภาคใต้นั้นเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเจริญทางด้านนี้ของเมืองนครฯที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน จากบทความเรือง”อยู่เมืองนครฯไปนอนเมืองซิดนีย์ โดยสืบพงศ์ ธรรมชาติ สารนครศรีธรรมราช เืดือน มกราคม 2546 
                 การเล่นละครตามแบบอย่างของเมืองนครศรีธรรมราช ชาวจีนเรียกว่า”Locak” และ
                 มาโคโปโล เรียกว่า”โลแค็ก”หรือโลกัก”เมื่อ พ.ศ.1835  คำนี้เองตอนหลังได้กลายเป็น “Ligor “ในภาษาโปรตุเกส
                  ชาวไทยมุสลิมภาคใต้ ในอดีตเรียกว่า “เนการี” หรือ” เนกรี”(เมืองหรือนครใหญ่)ปัจจุบันเรียกว่า “ลึงกอร์”(บทความจากตามพรลิงค์ ถึง นครศรีธรรมราช โดยปรีชา นุ่นสุข เดือนสิบ 27 นครศรีธรรมราช หน้า 13)
                     ชาวมาลายูเรียกว่า ลือฆอ”
                    “ส่วนคำว่า”ละคร”เห็นจะเป็นเพราะเมืองนครศรีธรรมราชมีการละเล่นชนิดหนึ่งที่มีชื่อเสียง คือ”ละคร”หรือละครชาตรี จึงทำให้คนภาคกลางนำไปเรียกในทำนองเป็นสมัญญาว่า ” เมืองละคร”ในภายหลัง (จากหนังสือประวัติศาสตร์อารยธรรมภาคใต้ แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญ หน้า 187 โดยประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์)
                และมีรายละเอียดที่มาของหลักฐาน การบรรยายทางสถานีวิทยุของคุณครูน้อม อุปรมัยคือ(อนุเคราะห์จากคุณภรณี(ติ๋ม) นาคเวช(อุปรมัย)  
             วันออกอากาศ-สถานีบรรยายที่สถานีวิทยุ ม.ท.บ.5(ค่ายวชิราวุธ)นครศรีธรรมราช
             วัน         – ออกอากาศ วันอาทิตย์ที่ 11 กพ.2516
              เวลา      – 07.30 น.-08.00 น.
             จัดโดย  -ห้องสมุดประชาชน จ.นครศรีธรรมราช
              เรื่อง       – ความเป็นมาของชื่อถนนต่างๆในเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช
              บรรยายโดย    – ครูน้อม อุปรมัย
      และมีข้อมูลอีกอย่างหนึ่งที่พอสนับสนุนได้ว่า ในตำหนักเจ้าพระยานคร มีคณะละครประจำวังคือ มีภาพนักแสดงเป็นตัวละครในคณะละครคือ
Picture 146
ภาพอดีต ป้าเขียว(แสดงเป็นเจ้าเงาะ)ในคณะละครประจำคณะโรงเจ้าพระยานคร ภาพโดยคุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ หนังสือศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ “ครบเครืองเรื่องภาคใต้”
เมือง”ลิกอร์(Ligor)”ลูกู(Lugu,Luga),Nucaon”ในแผ่นที่โลกในอดีต ที่ได้รับการจารึกไว้ในบันทึกแห่งมนุษยชาติ ณ  ที่ต่างๆทั่วทุกมุมโลก(เป็นดินแดนที่มี่อดีตอันไกลโพ้น)
         แผ่นที่ราชอาณาจักรสยาม เขียนโดย โยฮาเนส เมเทลลุส เมื่อ พ.ศ.2139 จากหนังสือ ประมวลแผนที่ ประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์-การเมืองกับลัทธิอาณานิคมในอาเซียน-อุษาเนย์ โดยชาญวิทย์ เกษตรศิริ หน้า 31(เมืองคอน(Nucaon) ภาพมีลูกศรชี้)
        แผนที่มะละกา เขียนโดย โยโคุส ฮอนดิอุส เมือ พ.ศ.2159 ภาพจากหนังสือประมวลแผนที่ฯ โดยชาญวิทย์ เกษตรศิริ (ภาพเมืองคอน(Luga) อยู่แนว 10 ns ตอนกลางภาพ)
          แผนที่อินเดียนอกลุ่มน้ำคงคา ฉบับซองซอง ดับเบวิลล์ พ.ศ.2195 จากหนังสือประมวลแผนที่ฯ โดยชาญวิทย์ เกษตรศิริ หน้า 37 เมืองคอน(Ligor) มีเส้นดินสอจางๆ
           แผนที่ใหม่ของอินเ้ดียนอกลุ่มน้ำคงคา เขียนโดย โรเบิร์ต มอร์เด็น พ.ศ.2223 จากหนังสือประมวลแผนที่ฯ โดยชาญวิทย์ เกษตรศิริ หน้า 43 เมืองคอน(Ligor)ที่มีลูกศรชี้
          แผนที่ราชอาณาจักรสยาม เขียนโดย เมอซิเออร์ เดอ ลามาร์ และซิมง เดอ ลาลูแบร์ พ.ศ.2234 จากหนังสือ ประมวลแผนที่ฯโดยชาญวิทย์ เกษตรศิริ หน้า 71 เมืองคอนอยู่ที่ Poin of Ligor
Picture 037ภาพเมืองลิกอร์ ที่พ่อค้าชาวโปตุเกสเขียนไว้ เมือ พ.ศ.2061 อำเภอปากพนังยังไม่มีรูปร่าง  ภาพจากหนังสือ 109 ปี อำเภอหัวไทร จากห้องสมุดประชาชนนครศรีธรรมราช
นี้คือ เมืองลิกอร์(Ligor)โลแค็ก,ลูกู.ลึงกอร์
เขียนโดยวิศวกรชื่อเดอลามาร์(La Marre)ชาวฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.2230 ภาพจากสำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน(คุณสารัตน์)
0037-525x700 copy
ภาพอดีต หอพระพุทธสิหิงค์ ภาพจากร้านนครอารต์ ท่าวัง เมืองคอน
pจวนเจ้าเมืองนคร-700x545 copy
ภาพอดีตบริเวณวังเจ้าเมืองนครและหอพระพุทธสิหิงค์ ที่เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี(หนูพร้อม ณ นคร)เป็นผู้อุทิศที่ตั้งวังปกครองเมืองนครศรีธรรมราช  มาแต่โบราณให้เป็นที่ตั้งศูนย์กลางของการปกครอง คือเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดและศาลจังหวัดตลอดถึงที่ว่าการอำเภอเมือง เมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งเป็นอาคารรุ่นก่อน ภาพจากสำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
                         จากลักษณะการสร้างหอพระพุทธสิหิงค์ บางท่านติงว่า”ทำไมหอพระพุทธสิหิงค์ถึงได้สร้างก่ออิฐ ถือปูน แต่วังพระยานครฯถึงได้สร้างมุงหลังคาด้วยใบจาก”ตามความคิดเห็นว่าของผู้เขียแล้ว ถ้าเป็นชาวพุทธ นับถือพระพุทธศาสนาแล้่ว เพื่อเป็น“พุทธบูชา”แล้วทุกอย่างจะต้องดีเลิศ
สำหรับอาคารของวังเดิมมีลักษณการสร้างตามคำอธิบายของพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช  เมือปีวอก พ.ศ.2427 จากหนังสือ”ชีวิวัฒน์ ดังนี้
พระนิพนธ์อธิบายสภาพวัง-หอพระพุทธสิหิงค์เมืองคอนในอดีต เมื่อ พ.ศ.2427
แผนผังรายละเอียดการวางผังเมืองและการสร้างวังกษัตริย์เมืองคอนและผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างเมือง(ผังส่วนหนึ่ง)ในอดีตเฉพาะ(ยุคหนึ่งของความเป็นเมืองคอน) 
แผนผังการก่อสร้างจวน(วังของกษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราชและรายการเกณฑ์ผู้รับผิดชอบในการก่อสร้าง(บางส่วนของพื้้นที่ของช่วงสมัยหนึ่งของการสร้างเมือง))เมือ วันที่ 11 พย.2329 จากหนังสือตำรา 12 เดือน คัดแต่สมุดขุนทิพมนเทียรชาววังไว้ จากคุณสารัตน์(นิก)สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
แผนผังโรงพระแสง 17 ธค.2338/แผนผังโรงใส่ปืนใหญ่ เมืองนคร 6 ธค.2338/แผนผังตึกดิน 1 เมย.2338 และรายการเกณฑ์ผู้รับผิดชอบในการกา่อสร้างส่วนต่างๆของเมืองคอนในอดีต จากหนังสือตำรา 12 เดือน คัดแต่สมุดขุนทิพมนเทียรชาววังไว้ จากคุณสารัตน์(นิก)สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
pพระแสง
 pศาลพระแสง
ภาพศาล”พระแสง”ตามผังการก่อสร้างของวังเมืองคอนในอดีต ถ้าตามผังการก่อสร้างจะหันกระบอกปีนไปทางทิศตะวันออกและมีปีนใหญ่ชุดละ 24 กระบอก ที่ยังคงเหลือ ณ.จุดเดิมที่ยัีงไม่มีการย้ายหรือถูกทำลาย อยู่ในปัจจุบัน เพียง 1 ชุด(3 กระบอก) อยู่บริเวณถนนตึกดิน ขอขอบคุณ คุณสารัตน์(นิก)สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอนที่ชี้แนะและแนะนำ
ประวัติปืนใหญ่ ในเมืองคอน จากโครงการสัมมนาทางวิชาการประวัติศาสตร์ของคุณสินชัย กระบวนแสง จากหนังสือประวัติศาสตร์และโบราณคดีนครศรีธรรมราช ชุดที่ 5 ประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สัมพันธุ์กับดินแดนอืน วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช ในหัวข้อ”ปืนใหญ่มีคำจารึกจากจังหวัดนครศรีธรรมราช”ได้กล่าวไว้โดยสังเขปว่า
           “นครศรีธรรมราชเป็นเมืองใหญ่ทีมีความสำคัญติดต่อกันมาเป็นเวลานานเป็นแหล่งติดต่อค้าขายกับเมืองต่างๆ มีสถานที่ซ่อมแซมและต่อเรือ มีกองกำลังขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่เกรงขามของเมืองทั่วไปในละแวกนั้น ฯลฯ ปัจจุบันเมืองนครศรีธรรมราชมีปืนใหญ่โบราณอยู่มากมาย และได้ถูกทำลายลงบางส่วนแล้ว และมีปืนใหญ่ที่มีคำจารึกที่ให้เห็นว่า เมืองนครศรีธรรมราชได้ติดต่อค้าขายกับเมืองต่างๆ ที่พบที่มีจารึกผ่านปืนใหญ่ มี”
1.บริเวณวิหารโพธิลังกาในวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร 3 กระบอก
1.1ปืนสัมฤทธิ์ที่หล่อในประเทศเนเธอร์แลนด์ ของบริษัทอินเดียตะวันออกเนเธอร์แลนด์ สร้างเมือ พ.ศ.2184 
pวิหารวัดพระบรมธาตุ
1.2หล่อโดยชาวมาเลย์ จำนวน 2 กระบอก
pวิหารวัดพระบรมธาตุ2
pวิหารวัดพระบรมธาตุ3
2.ที่ข้างเสาธงกองกำกับการตำรวจภูธร 11 จำนวน 1 กระบอก
pหน้ากองกำกับ
เป็นปืนใหญ่ที่หล่อจากสัมฤทธิ์ในประเทศเดนมาร์ก สร้างในสมัยของประเจ้าคริสเตียนที 5 เมื่อ พ.ศ.2239
และที่สำคัญผู้ปกครองหรือกษัตริย์จะต้องมีคือคอกช้าง คอกม้าเพื่อทำศึกสงครามและตามคำบรรยายของครูน้อม อุปรมัย คอกม้าของกษัติรย์เมืองคอน คือ ตลาดท่ามัาปัจจุบันและมีท่าให้ม้ากินน้ำและอาบน้ำคือสะพานท่าม้าบ้านบ่อน้ำซับ(สำหรับที่เป็นโรงช้างคือบริเวณวัดสวนป่านและวัดท่าช้างปัจจุบันบริเวณสุเหร่าตลาดแขก)
SAM_1470
ภาพตลาดท่าม้า อดีตคือบริเวณคอกม้าใหญ่(คอกม้าหลวง)ของวังกษัตริย์เมืองคอน ตามราชประเพณีของกษัตริย์ผู้ครองเมืองหรือประเทศ ต้องมีม้า ไว้ประดับบารมีหรือไว้ใช้ในราขการสงครามและยังสืบทอดมาถึงปัจจุบัน  ตามคำบรรยายของครูน้อม อุปมัย ทางสถานีวิทยุ ม.ท.บ.5 เมื่อ 11 กพ.2516
pถนนท่าม้า
ภาพที่อาบน้ำของม้าบริเวณริมคลองท้ายวัง ซึ่งจะมีม้ามาอาบน้ำประมาณ 100 ตัว ปัจจุบันคือ ถนนท่าม้า ชุมชนบ่อซับ(ที่ๆมีน้ำมาก) ตามคำบรรยายของครูน้อม อุปรมัย ที่สถานีวิทยุ ม.ท.บ.5 เมื่อ 11 กพ.2516
pคลองท้ายวัง
ภาพคลองท้ายวังปัจจุบัน จากเดิมเป็นคลองที่ใหญ่ เรือชาวเหนือเข้ามาติดต่อค้าขาย สัญจรทางเรือ เพื่อเดินทางเข้ามาในเมืองคอน ปัจจุบันเป็นภาพที่สุดบรรยายครับ ถ่ายเมือ พ.ศ.2555
pสำนักงานราชพัสดุ copy
ภาพอดีตสำนักงานราชพัสดุ เมืองคอน บริเวณสี่แยกไฟแดงหลังศาลากลางถ่ายเมือ พ.ศ.2505 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พ.ศ.2556
pอำเภอเมือง copy
ภาพอดีตที่ว่าการอำเภอเมืองแห่งที่ 2 ของเมืองคอน ภาพจากสารนครศรีธรรมราช ถ่ายเมือ พ.ศ.2538 ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พ.ศ.2555
pสำนักงานทรัพยากรธรณี copy
ภาพอดีตสำนักงานทรัพยากรธรณี(ด้านหลังศาลากลาง) นครศรีธรรมราช บริเวณหลังศาลากลาง ถ่ายเมือ พ.ศ.2505 ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์ ภาพปัจุบัน ถ่ายเมือ พ.ศ.2555 และอาคารถูกรื้อถอนเมือ พ.ศ.2556 
pสาธารณะสุข1
pสาธารณะสุข2
IMG_6337
ภาพบริเวณหน้าสาธารณะสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ภาพจากสารนครศรีธรรมราช และภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พ.ศ.2556
pอบจ.
ภาพอดีตอาคารสำนักงาน อบจ.นครศรีธรรมราช ภาพจากสารนครศรีธรรมราช ภาพปัจจุบันถ่ายเืมื่อ พ.ศ.2555pศาลาพักร้อนริมทางรถไฟ
ภาพอดีต”หลาริมทาง”เพื่อหลบแดด หลบฝน ของหมอปาน สงกุมาร(เดิมสร้างตรงข้ามองค์การโทรศัพย์หลังศาลาสกลางเมือง พ.ศ.2495) ที่คนเมืองคอนยุคโบราณมักจะสร้างไว้เพื่อไว้เป็นที่พักระหว่างเดินทางของประชาชน เนืองจากยุคก่อนจะติดต่อจะต้องเดินทางด้วยเท้า ภาพจากหนังสือบรรณาการในงานฌาปนกิจ คุณหมอปาน สงกุมาร ณ เมรุวัดส่วนป่าน เมือง 4 ธค.2515  ภาพปัจจุบันถ่ายเมือ พ.ศ.2555
“เมืองลิกอร์”จากสาเหตุที่ชาวต่างชาติ เรียกเมืองคอนว่า”เมืองลิกอร์”เกี่ยวกับการละคร-มโนราห์ มีหลักฐานที่ยังพอหลงเหลืออยู่ให้รำลึกมาแต่ในอดีตของเมืองคอนหลังจากการทำลายตัวเอง-คนอื่นทำลาย ในคราวที่ ร.5  เสด็จเมืองคอน เป็นการส่วนประองค์หรือพระกรณียกิจได้ถ่ายและในการฉลองพระบรมธาตุเจดีย์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาตามวัฒนธรรม-ประเพณีของเมืองคอนและพระญาติวงศ์สเก็ดภาพไว้คือ
11โนราที่ลานวัดพระมหาธาตุ
35โนราลานวัดพระมหาธาตุ
36โนราลานวัดพระมหาธาตุ
Picture 2544372
140
ภาพอดีตการแสดง”โนรา”ในโอกาสต่างๆ
Picture 2544540
ภาพสเก็ตการรำโนราของเมืองคอน จากพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ จดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ.121 จากคุณสารัตน์(นิก)สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
และในประวัติศาสตร์ของ”มโนรา” อาวุโสแห่งเมืองนครศรีธรรมราช ที่เป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมความสามารถในการแสดงศิลปโนราต่อหน้าพระที่นั้งหลายครั้ง จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และนามสกุล 
โนราคล้ายขี้หนอน “หมื่นระบำบันเทิงชาตรี”
จากบทความร้อยเรืองเมืองนคร จาก..โนราคล้ายขี้หนอน ถึงโนรามดลิ้น.โดยวิเชียร ณ นคร หนังสือสารนครศรีธรรมราช ได้เขียนไว้พอสังเขปว่า ท่านเป็นศิลปินโนราคนเดียวคนแรกที่ได้รับบรรดาศักดิ์เนื่องด้วยทางการแสดงโนราโดยตรง ท่านได้รับบรรดาศักดิ์จาก รัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2451 แต่คนทั้วไปเรียกว่า”หมื่นระบำ”หรือ”ระบำบรรเลง” ชื่อจริงของท่านคือ”นายคล้าย”และมีสมญานามว่า”คล้าย พรหมเมศ” เกิดเมื่อปี พ.ศ.2396 ที่บ้านหนองเขเปล ตำบลชะมาย อำเภอท่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาได้ไปหัดโนรากับโนราเดช บ้านหูด่าน อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้มีครอบครัวที่บ้านสะพานไทร ตำบลกวนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ โดยสมรสกับนางปราง มีบุตรด้วยกัน 2 คน 
               โนราคล้าย พรหมเมศ ได้ออกรำโนราอยู่หลายปี จนมีชื่อเสียงโดยเฉพาะท่ารำและการรำที่สวยงามของท่าน คือ”ท่าตัวออน”และ”ท่ากินนรเลียบถ้ำ”จึงทำให้มีสมญานามว่า “คล้ายขี้หนอน”
          และจากการบรรยายทางวิทยุของครูน้อม อุปรมัย ทางสถานีวิทยุ ม.ท.บ.5 เมื่อวันที่ 11 กพ.2516 ท่านได้กล่าวไว้ว่า“เนื่องจากเมืองนครเป็นต้นตำรับสำหรับวิชาการละครของเมืองไทย ทางราชการจึงมีโครงการที่จะตั้งโรงเรียนนาฎศิลปขึ้นในเมืองนครศรีธรรมราช”อนึ่งเนืองจากละครที่เมืองนครฯมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่นิยม และยอมรับนับถื่อกันทั่วไปว่าดีเด่นยิ่งกว่าเมืองอื่น เพราะฉนั้นทางการจัดพิมพ์หนังสือ “encyclopedia britannica” อันเป็นหนังสือพจนากุกรมฉบับมาตรฐานของโลกจึงได้เอานักละครชาวนครฯคนสำคัญคนหนึ่งไปลงตีพิมพ์ให้ปรากฎชื่ออยู่ในหนังสือดังกล่าวด้วยชื่ว่า”คล้าย ขี่หนอน” นับเป็นนาฎศิลปเป็นตระกูลเดียวกันกับละครรำชาวนครนับเป็นเกียรติยศยิ่งใหญ่ของชาวนครฯและวงษ์ตระกูลของโนรา”คล้ายขี้หนอน เพราะหนังสือencyclopedia britannica เป็นหนังสือที่ชาวโลกทั่วไปยอมรับนับถือว่าเป็นหนังสือที่บรรจุความรู้ฯลฯ”
Picture
Picture 001
ภาพจากหนังสือ สารนครศรีธรรมราช เืดือน เมษายน 2549
      และจากบทความของครูน้อม อุปรมัย บรรยายทางวิทยุ ม.ท.บ.5 เมื่อวันที่ 11 กพ.2516 ท่านได้กล่าวไว้ว่า”ความสำคัญในตรอกท่าม้าที่คนรุ่นปัจจุบันควรทราบไว้คือเป็นที่ตั้่งของ”โรงละครหลวง”ที่สืบเนืองจากตั้งแต่กรุงสุโขทัย เป็นราชธานี(ตามบทความของคุณดิเรก พรตตะเสน ..มรดกมีค่า..ของตายาย จากสารนครศรีธรรมราช หน้า 33 ของเดือน กค.2515 ได้ส่งคณะละครไปเมืองจีน เมือ พ.ศ.1400 กล่าวอ้างก่อนนี้แล้ว) คณะละครหลวงแห่งนี้ มีชื่อแสียงโด่งดังมากไปถึงต่างประเทศตั้งแต่ 6-700 ปีมาแล้ว จนกลายเป็นสัญญาลักษณ์ของเมืองนครฯไป จะเห็นว่าเมืองฝรั่งชาวปอร์ตุเกศได้เข้ามาทำมาค้าขายอยู่ในเมืองนครฯซึ่งปลูกบ้านอยู่ที่บ้าน”ฉางปูเล หรือฉางปเหล่”เชิงสะพานราเมศร์ ฯลฯ ละครหลวงแห่งเมืองนครฯนี้เป็นเจ้าตำรับแห่งละครทั้งหลาย ในประเทศไทยปัจจุบันเป็นประเภทละครรำ ซึ่งนิยมเล่นกันเฉพาะในราชสำนักของกษัตริย์เท่านั้น ในคราว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาศเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 11 กย.2431 ได้ทรงเสด็จชมละครทั้ง 2 คณะ
        และจากหนังสือ “โนรา”ของโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูสงขลาจัดพิมพ์เมือ 15 กพ.2508 ได้กล่าวไว้ว่า”ตำนานละครชาตรีของกรมศิลปกรซึ่งได้แถลงไว้ว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ไปจากมณฑลนครศรีธรรมราช”(หน้า 24)จากหนังสือของคุณครูเจริืญ เมธารินทร์
และผู้เขียนได้สอบถามชาวบ้านที่อยู่บริเวณนี้ว่ารู้ประวัติและตำนานหรือไม่  เขาบอกว่าทราบว่าบริเวณนี้่เคยเป็นโรงละครของเมืองคอนที่เล่าต่อกันมา
คณะละครหลวงซึ่งเป็นเชื้อสายของละครหลวงมาจากสมัยก่อน ครั้งหลังสุดมีอยู่ 2 คณะคือ
1.คณะละครท่าม้า ตั้งอยู่ที่ถนนท่าม้าแยกเข้าซอย ณ นคร 2 เข้าไปช่วงกลางซอย (ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวคือบ้านของ พ.ต.ท.สรรพ์ เพชรานนท์ บ้านคุณวิเชียร ศรีวัชรินทร์และบ้านจัดสรรทาวเฮาท์ และตรงข้ามโรงละคร เป็นบ้านของย่าเขียน ย่านอง มีบ้านพื้นยกสูง(ตรงข้ามร้านอาหารชาวเรือปัจจุบัน มีการทอผ้ายกเมืองนครในอดีต ) มีการแสดงละครอยู่เป็นประจำ เพิ่งเลิกไปเมืองประมาณ 40-50 ปีมานี้(ปีที่ครูน้อม อุปรมัย บรรยาย พ.ศ.2516)
pโรงละครท่าม้า
pละครท่าม้า
2.คณะละครคณะคุณพร้อม ตั้งอยู่ในบริเวณโรงภาพยนต์แกรนด์ ตรงข้ามตลาดท่าม้าซอย ณ นคร  และได้เลิกคณะละครไปแล้วเหมือนกัน
pคณะละครคุณพร้อม
จากความยิ่งใหญ่ในอดีตของการละครของเมืองคอน ชนรุ่นหลังน่าจะตระหนักเพื่อการพิทักษ์รักษาสิ่งอันล้ำค่าของวัฒนธรรมสืบไป
ขอขอบคุณ
คุณสารัตน์(นิก)สำนักศิลปากรที่ 14 เมืองคอน
สารนครศรีธรรมราช
วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช
คุณดิเรก พรตตะเสน
ครูน้อม อุปรมัย
คุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์
คุณปรีชา นุ่มสุข
คุณภรณี นาคเวช(อุปรมัย)
คุณยุรีย์ อังวิทยาธร
อาจารย์พวงผกา ตลึงจิตต์ ห้องสมุดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
อาจารย์สุเบญจางค์ จันทรพิมล ห้องสมุดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
คุณประวัติ  ภิรมย์กาญจน์
คุณวีระศักดิ์ ศรีวัชรินทร์
คุณอรรถ ศิริรักษ์
คุณจรัส ยกถาวร
คุณมนต์ศักดิ์ วาดอักษร
ห้องสมุดประชาชนนครศรีธรรมราช
ร้านนครอารต์
คุณรื่นจิต  แสงแก้วสุข(เมธารินทร์)

3 comments

  1. ขอบคุณค่ะที่สืบค้นหาประวัติเมืองนครมาให้อ่าน แต่น่าเสียดายความเก่าของอาคารสถานที่ต่าง ๆ นะคะ ไม่ถึง 140 ปี ก็หายหมดแล้ว อาจเป็นเพราะการก่อสร้างของเราไม่มั่นคง และเราชอบของใหม่ เลยสร้างทับของเก่า หรือเรารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ได้แต่เสียดาย เวลามาเที่ยวบ้านเมืองของเพื่อน เห็นอาคารเก่า ๆ 150 กว่าปี ก็ยังอยู่ในสภาพดี พร้อมใช้ เสียดายของเรา

  2. คุณkwanchai ที่มาที่ไปของ http://www.gotonakhon.com ตั้งแต่เริ่มต้น ผมมีข้อสงสัยมากมายเมืองคอน เคยเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ในอดีต ถ้าดูหลักฐานทางวัตถุหาที่เก่าแก่หายากมากๆ เกือบทุกอย่างได้ถูกทำลายไปด้วยหลายสาเหตุหลายๆอย่าง -จากธรรมชาติ-จาก ผู้มีอำนาจเมื่อใครขึ้นมีอำนาจถ้าสังเำกตุแล้วชอบทำลายสิ่งปลูกสร้างเก่าๆ เพื่อสร้างใหม่ ดูง่ายๆอาคารเก่าสุขศาลาที่หอนาฬิกาถูกทำลายไปเป็นอาคารเก่า เจ้าของตระกูล ณ นคร ผู้บริจาคเหมือนจะร้องให้เมื่อมาเห็น ผมเคยไปที่พิพิธภัณฑ์ ฐานเสา ฐานบัวของเสาของวังในอดีตเหลือแต่ซากเสาที่เคยสร้างเป็นเมืองเก่าในอดีตแต่ละเสาใหญ่มากๆ ที่ถูกทำลายไป เลยบอกไม่ถูกว่าสาเหตุที่แท้จริงในการทำลายได้ขนาดนั้นคืออะไร

  3. กำลังศึกษาทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรีอยู่ค่ะ
    ภาพและข้อมูลละเอียดครบถ้วนดีมากเลยค่ะ
    เป็นกำลังใจคณะผู้จัดทำค่ะ 🙂

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *